ชื่อผลงาน : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยโปรแกรม Paint สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2โรงเรียนจัตุรัสวิทยานุกูล จังหวัดชัยภูมิ
ผู้จัดทำ : นางสาวศิริวิภา กุมปรุ
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักการสำคัญของทฤษฎีคอนสตรัคติวิตส์มาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้1) สถานการณ์ปัญหา (Problem Base) สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ในส่วนของภารกิจการเรียนรู้ มีความท้าทายให้เกิดความคิดเชิงวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา หรือพยายามทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหา แล้วพยายามค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ มาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อหาแนวทางในการหาคำตอบ 2) คลังความรู้ (Data Bank) เป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหา ที่ผู้เรียนจะใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ขยายแนวคิดและศึกษาค้นคว้าจนได้แนวทางการแก้ปัญหาของตนเอง 3) ร่วมมือกันแก้ปัญหา (Collaboration) เป็นแหล่งให้ผู้เรียนได้ร่วมกันแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปในการแก้ไขปัญหา 4) ปรึกษาคุณครู(Coaching) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอนจากการถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้คอยให้คำแนะนำแนวคิดและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ 5) ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองและช่วยสนับสนุนผู้เรียนในการแก้ปัญหา หากผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจหรือแก้ปัญหาได้
ผลจากการนำนวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมาใช้พบว่า
1) ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์ พบว่า มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
2) ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การเรียนด้วยสิ่งแวดล้อมมัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มีความเหมาะสมทั้งครอบคุลม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาในการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย และด้านการจัดการเรียนการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
เข้าชมผลงานได้ที่ : https://sites.google.com/site/siriwipaeporfolio/home
|